สภาพทั่วไป

 

 


  สภาพทั่วไป

             ด่านเกวียนเป็นชุมชนขนาดใหญ่ อยู่ริมฝั่งลำน้ำมูลห่างจากอำเภอเมืองนครราชสีมาประมาณ 15 กิโลเมตร เมื่อสมัยก่อนเป็นที่พักของกองเกวียนบรรทุกสินค้าต่าง ๆ ที่จะเดินทางค้าขายระหว่างโคราชกับเขมร โดยผ่านทางนางรอง บุรีรัมย์ ขุขันธ์ ขุนหาญ จนถึงเขมร ชาวด่านเกวียนส่วนใหญ่มีอาชีพการทำเครื่องปั้นดินเผามาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศจนถึงต่างประเทศ ด้วยชุมชนด่านเกวียนเป็นชุมชนขนาดใหญ่ กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาเห็นสมควรให้จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลด่านเกวียน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2526 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2595 และต่อมาสุขาภิบาลด่านเกวียน ได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลด่านเกวียน เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ตามพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 เทศบาลตำบลด่านเกวียนมีหมู่บ้านทำเครื่องปั้นดินเผามาแต่โบราณ นับเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีนักท่องเที่ยว นิยมมาชมการผลิตและซื้อหาเครื่องปั้นดินเผาอยู่เสมอ

 

ที่ตั้งและอาณาเขต

            เทศบาลตำบลด่านเกวียน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ ทิศตะวันออกของชุมชนมีแม่น้ำมูลไหลผ่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมา 15 กิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการอำเภอโชคชัย 15 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 10.17 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,356 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล คือ ตำบลด่านเกวียน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1,2,3,7,8 และหมู่ที่ 10 บางส่วน ตำบลท่าอ่าง 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 3,4, และหมู่ที่ 6 มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

            - ทิศเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 นครราชสีมา - โชคชัย ฟากตะวันออกตรงหลัก ก.ม. ที่ 11+623 ตามแนวเส้นตั้งฉาก ระยะ 400 เมตร กับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 นครราชสีมา - โชคชัย ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 นครราชสีมา - โชคชัย ฟากตะวันออก ตรง ก.ม. ที่ 15+000 ตามแนวเส้นตั้งฉากระยะ 400 เมตร ( ติดต่อกับเขต อบต.ด่านเกวียน อบต.หนองบัวศาลา อ.เมือง จ.นครราชสีมา )

            - ทิศใต้ จากหลักเขตที่ 4 เลียบคลองส่งน้ำสายใหญ่ 074-A ฝั่งขวาไปทางทิศใต้ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองส่งน้ำสายใหญ่ 074-A ฝั่งขวาตามแนวเส้นตั้งฉากกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 นครราชสีมา-โชคชัย ฟากตะวันออกตรง ก.ม. 19+302
            จากหลักเขตที่5 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 นครราชสีมา- โชคชัย ตรงก.ม. 19+302 ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 นครราชสีมา- โชคชัย ฟากตะวันตก ตรง ก.ม.19+302 (ติดต่อกับบ้านเสาเดียว หมู่ที่ 7 อบต.ท่าอ่าง อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา )

            - ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงอยู่ในแนวเดียวกับจากหลักเขตที่ 1 ถึงหลักเขตที่ 2 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ ๓ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลฝั่งขวา ( ติดต่อกับเขต อบต.ด่านเกวียน, อบต.ท่าอ่าง อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา )

            - ทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นขนานระยะ 200 เมตร กับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 นครราชสีมา - โชคชัย ไปทางทิศเหนือถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากคลองส่งน้ำสายใหญ่ 074-A ฝั่งซ้ายตามเส้นตั้งฉาก 200 เมตร
            จากหลักเขตที่ 7 เป็นแนวขนานระยะ 200 เมตร กับคลองส่งน้ำสายใหญ่ 074-A ฝั่งซ้ายไปทางทิศเหนือ ถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 นครราชสีมา - โชคชัย ฟากตะวันตกตามแนวเส้นตั้งฉาก ระยะ 400 เมตร
            จากหลักเขตที่ 8 เป็นแนวขนานระยะ 400 เมตร กับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 นครราชสีมา - โชคชัย ฟากตะวันตกไปทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 นครราชสีมา - โชคชัย ฟากตะวันตก ตรง ก.ม. 11+623 ตามแนวเส้นตั้งฉากระยะ 400 เมตร จากหลักเขตที่ 9 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 นครราชสีมา - โชคชัย ตรง ก.ม. 11+623 ไปบรรจบกับหลักเขตที่ 1 ( ติดต่อกับเขต อบต.ด่านเกวียน,เขต อบต.ท่าอ่าง อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา)